ครอบครัว 3 ชีวิต ป่วยมะเร็งตับ ลูกก็ไม่รอด แพทย์ชี้ “นักฆ่า” คือสิ่งที่เก็บไว้ในตู้เย็น

ดังเช่นกรณีคุณหลิน (นามสมมุติ) อายุ 40 กว่าปี อาศัยอยู่ที่เมืองเหลียวหนิง ประเทศจีน รู้สึกตกใจมากเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับหลังจากไปพบแพทย์ผิวหนัง สิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นคือเมื่อสมาชิกที่เหลืออีกสองคนในครอบครัว คือภรรยาและลูกชายของเขา ก็เผชิญกับโรคร้ายนี้พร้อมกัน เพียงเพราะความผิดพลาดในการเก็บอาหารในตู้เย็น

โดยคุณหลินเล่าว่า เขาสังเกตได้ว่าผิวบนร่างกายของตัวเองเหลือง มีอาการคัน รวมทั้งมีรอยจุดสีแดงๆ จำนวนมาก ภรรยาและลูกชายของเขาก็มีอาการคล้ายๆ กัน แต่อาการเบากว่า ทั้งครอบครัวจึงคิดว่าน้ำประปาในอพาร์ตเมนต์อาจจะมีปัญหา ซึ่งผ่านมาหลายเดือนที่แล้วแต่ก็ยังไม่สามารถหาบ้านเช่าใหม่ที่เหมาะสมได้ ดังนั้น จึงทำได้เพียงซื้อยามาทาเองเท่านั้น ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้ผลมากนักก็ตาม

เนื่องจากงานของคุณหลินต้องพบปะลูกค้าจำนวนมาก ภรรยาจึงแนะนำให้เขาไปพบแพทย์ผิวหนังก่อน โดยไม่คาดคิดว่าหลังจากแพทย์ตรวจเขาแล้ว จู่ๆ ก็ย้ายเขาไปที่แผนกตับและตับอ่อนทันที ก่อนทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ แล้วจึงทราบผลว่าเป็นมะเร็งตับระยะที่ 3

คุณหลินรู้สึกประหลาดใจมาก เขาไม่สูบบุหรี่ และไม่ค่อยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จนกระทั่งแพทย์ถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินของเขา จึงค้นพบ “นักฆ่า” 3 รายที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ในตู้เย็น ได้แก่ ถั่วขึ้นรา ผักใบเขียวที่ทิ้งไว้ข้ามคืน และเห็ดหูหนูแช่น้ำเป็นเวลานาน

ปรากฏว่าครอบครัวคุณหลินมักมีนิสัยชอบทำอาหารล่วงหน้าตอนกลางคืน โดยแช่ตู้เย็นแล้วเอาไว้แล้วค่อยหยิบไปทานที่ทำงานในเช้าวันรุ่งขึ้น อีกทั้งอาหารที่เหลือ รวมถึงผักใบเขียว มักจะถูกเก็บไว้ในตู้เย็นเสมอ เพื่อที่จะรับประทานได้ 2-3 วันเว้นแต่จะมีกลิ่นเหม็นแล้วจึงโยนทิ้งไป ซึ่งการแช่ผักไว้ค้างคืนในตู้เย็น จะผลิตและเพิ่มสารอันตรายที่เรียกว่าไนไตรต์

แพทย์กล่าวว่า ถึงแม้ปริมาณไนไตรต์นี้จะดูเหมือนไม่อันตราย แต่หากรับประทานผักที่ค้างคืนเป็นประจำ ก็จะค่อยๆ สะสม และเป็นอันตรายต่อสุขภาพในที่สุด เพราะเมื่อไนไตรท์เข้าสู่ร่างกายจะรวมตัวกับโปรตีน เกิดเป็นไนโตรซามีนซึ่งเป็นอันตรายต่อตับอย่างมาก เมื่อเวลาผ่านไปสามารถลดการทำงานของตับ ทำลายเซลล์ตับ และในระยะยาวเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับ ไม่ต้องพูดถึงวิตามินและโฟเลตในผักใบเขียว ก็มีความไวต่ออุณหภูมิสูงเช่นกัน เมื่อนำไปอุ่นซ้ำครั้งที่ 2 สารเหล่านี้จะถูกทำลายและสร้างสารพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพตับและระบบย่อยอาหาร

ไม่เพียงเท่านั้น ภรรยาคุณหลินยังมักจะทำอาหารจากเห็ดหูหนู เพราะคิดว่าดีต่อสุขภาพ แต่เนื่องจากชีวิตประจำวันที่ยุ่งเป็นทุนเดิม เธอจึงมักจะนำเห็นไปแช่น้ำในปริมาณมากในแต่ละครั้ง หรือแค่ใส่น้ำลงในภาชนะที่ปิดสนิทแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อสามารถหยิบไปใช้ได้ทันทีที่ต้องการ

เห็ดหูหนูแห้งนั้นไม่เป็นพิษ แต่หากแช่ไว้นานเกินไป โดยเฉพาะนานกว่า 8 ชั่วโมง หรือข้ามคืน เห็ดพวกนี้อาจเสื่อมสภาพได้ง่าย ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้แบคทีเรียที่เป็นอันตราย เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์สารพิษที่ก่อให้เกิดพิษ ซึ่งรวมถึงสารพิษที่ทำลายตับ และสารก่อมะเร็งชั้นนำที่ WHO เตือนอย่าง “อะฟลาทอกซิน”

อะฟลาทอกซิน ยังพบได้ง่ายในถั่วที่ครอบครัวคุณหลินเก็บไว้ในตู้เย็นเป็นเวลานาน เนื่องจากการเงินของเขาจะไม่ค่อยมีมากนัก แต่ยังคงต้องการที่จะมีสุขภาพที่ดี จึงซื้อถั่วทุกชนิด ทั้งวอลนัท อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ แล้วเอาเข้าตู้เย็นเพื่อนำมากินทีละน้อย สภาพแวดล้อมที่ชื้นและติดเชื้อง่ายทำให้ถั่วเปลี่ยนรสชาติอย่างรวดเร็ว และแม้กระทั่งมีเชื้อราเกิดขึ้นด้วย แต่เพราะเสียดายกับเงินที่เสียไป จึงไม่กล้าทิ้งมัน และกินต่อไป

เมื่อได้ยินคุณหลินเล่าว่าภรรยาและลูกก็มีวิถีชีวิตและอาการคล้ายกัน แพทย์จึงขอให้ทั้งสองคนมาตรวจที่โรงพยาบาลทันทีก่อนทราบผลว่าเป็นมะเร็งตับเช่นเดียวกัน ทั้งสามคนรู้สึกเสียใจอย่างยิ่ง แต่ตอนนี้ก็สายเกินไปแล้ว ดังนั้น พวกเขาต้องการแบ่งปันเรื่องราวของตน เพื่อเป็นสัญญาณเตือนภัยแก่ผู้อื่น อย่าปล่อยให้ความผิดพลาดในการประหยัดเงิน ขาดความรู้ และมองว่าตู้เย็นเป็น “เครื่องเก็บอาหาร” นำความเจ็บป่วยมาสู่ร่างกายของคุณ