คำเตือนที่จริงใจ! 5 เครื่องดื่ม “ไม่ควร” ใส่แก้วเก็บอุณหภูมิ เสี่ยงกรอก “พิษ” เข้าปากไม่รู้ตัว

แนะนำ “ไม่ควร” ใส่เครื่องดื่ม 5 ชนิด ลงในแก้วเก็บอุณหภูมิ เปรียบเหมือนดื่ม “ยาพิษ” ไม่รู้ตัว

แก้วเก็บอุณหภูมิก็ถือเป็น “ของคู่กาย” ของใครหลายๆ คนในยุคนี้ แม้ว่าสะดวกและมีประสิทธิภาพในการรักษาความร้อนและความเย็นของเครื่องดื่ม แต่ความจริงก็คือเครื่องดื่มบางชนิดไม่เหมาะสำหรับการเทลงในแก้ว, กระติก หรือกระบอกเก็บความอุณหภูมิ เพราะหากใช้งานอย่างไม่ถูกต้องเช่นนั้น อาจสร้างความเสียหายทั้งขวดและสุขภาพของผู้บริโภคได้

ตามคำแนะนำของเว็บไซต์ SOHA มีเครื่องดื่ม 5 ประเภท เมื่อใส่ในแก้วเก็บความร้อนอาจกลายเป็น “พิษ” ได้ง่ายๆ ทำร้ายผู้ที่ดื่มเข้าไปโดยไม่รู้ตัว

1. นม

นมเป็นแหล่งโภชนาการที่ดี แต่เมื่อใส่มันลงในแก้วเก็บความร้อนสามารถกลายเป็น “สภาพแวดล้อมในอุดมคติ” สำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อนมถูกทิ้งไว้ในแก้วเป็นเวลานาน โครงสร้างของโปรตีนในนมจะถูกทำลายทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง ดังนั้น จึงเป็นการดีที่สุดที่จะไม่ใช้แก้วเก็บความร้อนในการเก็บนม หากใช้ก็ควรดื่มภายในหนึ่งชั่วโมงเพื่อความปลอดภัย

2. ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร หรือยาจีนแผนโบราณ มีองค์ประกอบที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งสารที่เป็นกรดและด่าง ในขณะที่แก้วเก็บความร้อนมักทำจากสแตนเลสผสมกับโลหะผสม เช่น แมงกานีส นิกเกิล และโครเมียม เพื่อเพิ่มความทนทานและต้านทานการกัดกร่อน ซึ่งอัลคาไลในยาแผนจีนสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะ ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง และยังก่อให้เกิดสารที่เป็นอันตรายอีกด้วย นอกจากนี้ ยาแผนจีนยังเสียหายได้ง่ายที่อุณหภูมิสูง ส่งผลให้ประสิทธิภาพของส่วนผสมยาลดลง ดังนั้นควรเลือกขวดแก้วหรือเซรามิกเพื่อถนอมสรรพคุณของยา

3. เครื่องดื่มที่เป็นกรด

ไม่แนะนำให้ใส่น้ำผลไม้ โซดา หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดอื่นๆ ในแก้วเก็บอุณหภูมิ เนื่องจากกรดในเครื่องดื่มสามารถกัดกร่อนสแตนเลสภายในขวด ทำให้เยื่อบุเสียหาย และปล่อยโลหะหนัก ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ การสัมผัสกับกรดเป็นเวลานานยังอาจลดประสิทธิภาพของแก้วเก็บอุณหภูมิ จึงควรเก็บเครื่องดื่มที่เป็นกรดไว้ในขวดแก้วหรือขวดแก้วเซรามิกจะดีกว่า

4.น้ำเกลือ

น้ำเกลือสามารถกัดกร่อนส่วนประกอบภายในแก้วเก็บอุณหภูมิได้หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน ในขณะที่แก้วเก็บอุณหภูมิมักมีสารปกป้องชั้นโลหะภายใน ซึ่งเมื่อสัมผัสกับน้ำเกลือเป็นเวลานานๆ สามารถลดความสามารถในการเป็นฉนวนของแก้วได้ ขณะเดียวกันก็ปล่อยโลหะหนักออกจากชั้นสแตนเลส ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้อีกด้วย

5. ชา (โดยเฉพาะชาที่เข้มข้น)

การชงชาใส่ในแก้วเก็บความร้อน เพื่อจะได้ค่อยๆ ดื่มระหว่างวัน เป็นนิสัยของหลายคน อย่างไรก็ตาม ชาประกอบด้วยกรดแทนนิก ธีโอฟิลลีน และสารประกอบอื่นๆ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงเมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิสูงในระยะยาว นอกจากชาจะไม่คงกลิ่นตามธรรมชาติอีกต่อไป ยังอาจกลายเป็นรสขมได้ด้วย ทั้งนี้ ชาที่แช่ไว้ในแก้วเก็บความร้อนนานเกินไปยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องและอาหารไม่ย่อย เนื่องจากมีกรดแทนนิกเพิ่มขึ้น ยังไม่รวมถึงการทิ้งคราบที่ขจัดออกได้ยากไว้บนแก้ว ทำให้สูญเสียความสวยงามและไม่ดีต่อสุขอนามัย