สืบเนื่องเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 2 กก.2 บก.ปคบ. นำโดย พ.ต.ท.จำรูญ คำมา สว.กก.2 บก.ปคบ. พร้อมกำลังชุดปฏิบัติฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร กาญจนบุรี ได้ร่วมกันเข้าตรวจสอบโกดังใน ม.6 ต.พลับพลาไชย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี พบผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน โพแทสเซียมคลอไรด์ ตราโคอาล่า สูตร 0-0-60 ตราหนึ่ง บรรจุในกระสอบสีขาว ขนาด 50 กิโลกรัม จำนวน 24 กระสอบ กระสอบบรรจุระบุ ผู้ผลิต/นำเข้าปุ๋ย บริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งผลิตในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ.2518 จากการสืบสวนทราบว่าผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีดังกล่าว สั่งซื้อมาจาก บจก. ในม.4 จันทรุเบกษา ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
ต่อมาวันนี้ (2 พ.ค.67) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พร้อมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร กรมวิชาการเกษตร เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 2 กก.2 บก.ปคบ. นำโดย พ.ต.ท.จำรูญ คำมา สว.กก.2 บก.ปคบ. พร้อมกำลังชุดปฏิบัติฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร กรมวิชาการเกษตร เพื่อเข้าตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว
จากการตรวจสอบพบผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีต้องสงสัยเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ.2518 จำนวน 3 รายการ รวมจำนวน 9,768 กระสอบ และปุ๋ยเคมีมาตรฐาน โพแทสเซียมคลอไรด์ ตราโคอาล่า สูตร 0-0-60 ตราโคอาล่า บรรจุในกระสอบสีขาว เลขที่ทะเบียนใบรับแจ้งเลขที่ ปฐ. ไม่ระบุ/2566 (กรมวิชาการเกษตร) ขนาด 50 กิโลกรัม จำนวน 2,208 กระสอบ มูลค่าของกลางกว่า 1.7 ล้านบาท
ซึ่งจากการกระทำดังกล่าว เป็นความผิดฐาน “ขายปุ๋ยที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้ โดยไม่ได้รับอนุญาต” มาตรา 30 (5) ,72 (ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 3 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาทถึง 1.2 แสนบาท) เจ้าพนักงานตำรวจชุดดังกล่าวจะได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อ พงส.กก.2 บก.ปคบ. เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดที่สอบสวนถึงตามกฎหมายต่อไป
เตือนภัย ก่อนเลือกซื้อสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ปัจจัยผลผลิตทางการเกษตร ปุ๋ยเคมี ให้เกษตรกรตรวจเลือกซื้อสินค้าที่ผ่านการขึ้นทะเบียน จากกรมวิชาการเกษตร โดยให้ดูฉลาก ทะเบียนปุ๋ยเคมีที่แสดงไว้ที่ผลิตภัณฑ์ ฉลาก เอกสาร คำแนะนำ ในการใช้ที่ถูกต้อง หากเกษตรกรผู้บริโภค นำปุ๋ยที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสิเคราะห์จากกรมวิชาการเกษตร อาจทำให้สิ้นเปลือง เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น