เปิดเส้นทางเจ้าของสวนทุเรียน 300 ไร่ จากพนักงานบัญชี มองหาความยั่งยืนของอาชีพ กลับบ้านทำสวนทุเรียน มองทุเรียนเป็นครู สู่ความสำเร็จจากการบริหารจัดการ ทั้งส่งออก เเละสวนเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเเห่งเเรกในจังหวัดตราด
“ทุเรียน” เป็นพืชชั้นครู ยาก เเต่พืชที่จะทำเงินได้ต้องเป็นพืชที่ยาก เป็นงานยาก ถึงจะทำเงินได้ ถ้าทำง่าย ใครก็ทำได้ ทำเงินไม่ได้
หนึ่งในคำบอกเล่าของ คุณไพฑูรย์ วานิชศรี เจ้าของสวนทุเรียนไพฑูรย์ วานิชศรี เเละเกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวน โดยสำนักงานเกษตร อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด บอกเล่าเรื่องราวการทำสวนทุเรียนบนพื้นที่ราว 300 ไร่ กับทุเรียนราว 6,000 ต้น ในจังหวัดตราด
จุดเริ่มต้น จากพนักงานบัญชีบริษัทเอกชนชื่อดัง สู่เจ้าของสวนทุเรียน
คุณไพฑูรย์ เล่าว่า ตนเองเรียนจบด้านกฏหมาย หลังเรียนจบมีโอกาสได้ไปทำงานที่บริษัทเอกชนชื่อดังเเห่งหนึ่ง ในตำเเหน่งพนักงานที่ดูเเลด้านบัญชีการเงิน ทำงานได้ระยะหนึ่งพออายุช่วง 30 ปี ได้ตั้งเป้าชีวิตใหม่โดยอยากมีอาชีพส่วนตัวจึงได้ลาออกเเละมาทำงานที่บ้านตนเองเนื่องจากคุณไพฑูรย์เกิดในอาชีพชาวสวนตั้งเเต่เด็กคิดว่าหากกลับมาทำสวนทุเรียนน่าจะเป็นอาชีพที่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงชีพได้ เเละมีรายได้ที่ดี
จากพนักงานเงินเดือน สู่อาชีพชาวสวนหากเรียนจบต้องหาโอกาสทำงาน เป็นพนักงงานเงินเดือนสักระยะหนึ่ง เพื่อหาประสบการณ์ ซึ่งเราจะได้เเนวคิด เช่น การบริหารธุรกิจ การทำธุรกิจ ทั้งเรื่องเงิน เเละเรื่องคน
ซึ่งสมัยทำงานบริษัทนายได้สอนว่า การเกิด การดับ เป็นเรื่องปกติของชีวิต เป็นเรื่องธรรมชาติ เช่นเดียวกับการทำงาน งานหนัก งานเบา คือเรื่องธรรมชาติ อย่าไปเครียดกับเรื่องเหล่านี้จนเกินไป ต้องใช้สมองในการเเก้ปัญหา ฝึกมองโลกในเเง่บวกบ้าง เพราะถ้าไม่คิดเช่นนี้เราจะเครียดมากเกินไป จะไม่ก้าวหน้า
เกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวน โดยสำนักงานเกษตร อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราดมีเเนวคิดว่าทำอะไรจะต้องเอาดีให้ได้ ดังนั้นการจะเอาดีให้ได้เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา หยุดไม่ได้ เพราะปัจจุบันเทคโนโลยี นวัตกรรม การจัดการ ตลาด รวมทั้งสภาพภูมิอากาศ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
สวนเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเเห่งเเรกของจังหวัดตราด
เราเป็นสวนเพื่อการท่องเที่ยว ร่วมกับจังหวัดตราด สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตราด ซึ่งการทำเป็นสวนเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเนื่องจากเห็นว่า นักท่องเที่ยวเวลามาจังหวัดตราดมักนึกถึงการท่องเที่ยวทั้งเกาะต่างๆ มากินอาหารทะเล ดังนั้นหากได้เเวะทานผลไม้ จะเป็นการท่องเที่ยวที่ครบมาก ซึ่งที่นี่นอกจากเป็นสวนเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเเล้ว ยังเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งปัจจุบันก็มีนักศึกษามาฝึกงานอยู่เรื่อยๆ ด้วย
ทั้งนี้หากนักท่องเที่ยวจะมา ต้องโทรเช็คล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 1 วัน ว่าในสวนมีทุเรียนให้พร้อมกินหรือไม่ ซึ่งมาที่นี่สามารถมาเดินเล่น ถ่ายรูป ไม่คิดค่าเข้า โดยปี 2567 นี้ ราคาต่อหัว 300 บาท/คน (ราคาต่อปีไม่เท่ากัน) หรือหากมาตรงกับวันตัดทุเรียนอยากซื้อทุเรียนก็ได้ในราคาขายส่ง นอกจากทุเรียนเเล้ว ยังมีมังคุด เงาะ สละ ให้ได้กินกัน ซึ่งผลไม้เหล่านี้นำมาจากสวนโดยรอบเป็นการกระจายรายได้ให้กับสวนต่างๆ ด้วย
“แอร์บัสไฮบริด” เทคโนโลยีหนึ่งเดียวของโลกในสวนทุเรียน
ภายในสวนทุเรียนเเห่งนี้มีการจัดการสวนด้วยการผสมผสานเทคโนโลยี ซึ่ง ดร.ทองทด วานิชศรี อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยลาดกระบัง น้องชายไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ เป็นนักเรียนทุน มีโอกาสได้ไปฝึกงานที่อเมริกา ด้วยความที่เป็นครอบครัวชาวสวนน้องชายจึงได้ไปดูงานในสถานที่ต่างๆ นำความรู้ประสบการณ์มาพัฒนา “แอร์บัสไฮบริด” ขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีที่สวนไพฑูรย์ วานิชศรี เท่านั้น เป็นเครื่องเดียวของโลกมีการจดสิทธิบัตรเเล้วเรียบร้อย
โดยเครื่องนี้ใช้พ่นสารเคมีป้องกัน โรค เเมลง เน้นออกเเบบให้คนปลอดภัย ทำงานสบาย ลดการใช้สารเคมีได้เกือบ 100% เช่น
- ถ้าใช้ระบบพ่นยาเเบบเก่า หมดน้ำยากว่า 2000 ลิตร
- ใช้เเอร์บัสจะเหลือใช้น้ำยาไม่ถึง 1000 ลิตร
- ลดเเรงงาน คนเดียวขับได้ประมาณ 8- 9 รอบ /10-12 ไร่ หากเปรียบเทียบกับรถแทรกเตอร์หัวฉีดปกติต้องใช้ 4 คัน /3 คนต่อคัน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่นำมาปรับใช้กับสวนได้ดีมากๆ
การส่งออก
ทุเรียนในสวน ไพฑูรย์ วานิชศรี ส่วนใหญ่เป็นทุเรียนส่งออก ภาพรวมการส่งออกปัจจุบันถือว่ายังเป็นไปในทิศทางที่ดี ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
ภัยเเล้งปัญหาใหญ่ของชาวสวนทุเรียน
ปัญหาที่หนักสุดขณะนี้ คือ ปัญหาด้านภัยเเล้ง เนื่องจากทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการน้ำเยอะ ต่อต้นต้องใช้น้ำราว 400-500 ลิตร/ต้น/วัน ถ้าจะหาที่ในการทำสวนทุเรียนเราจะต้องดูในเรื่องของเเหล่งน้ำเป็นอันดับเเรก น้ำต้องดี ไม่อั้น เรียกว่ากดปุ่มมอเตอร์ทั้งปีน้ำต้องดีไม่เเห้ง เเต่โอกาสคนที่จะมีที่อย่างนี้ได้ไม่ง่าย ต้องมีที่ มีทุน ไม่ง่ายเลย ยาก ยากมาก
ซึ่งภัยเเล้งปี 2567 มีปัญหามาก รวมทั้งมองว่าหากปัญหานี้ยังเรื้อรัง ประเทศไทยอาจจะหมดน้ำที่จะทำสวนทุเรียนส่งออกให้ประเทศจีนกินเเล้ว เราไม่มีน้ำที่จะปลูกทุเรียนให้จีนกินเเล้ว ขณะนี้ยังไม่มีทางออก เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรที่หายากมาก มีเงินก็ไม่สามารถสร้างได้ ซึ่งปัจจุบันมีหลายสวนต้องจ้างรถน้ำเพื่อมาใช้ในสวนทุเรียน
เกษตรกรต้องปรับตัวให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงคุณไพฑูรย์ บอกว่า “ทุเรียนเป็นพืชชั้นครูถือว่ายาก เเต่เราเองก็มีเเนวคิดว่าพืชที่จะทำเงินได้ต้องเป็นพืชที่ยาก เป็นงานที่ยาก ถึงจะทำเงินได้ ถ้างานอะไรก็เเล้วเเต่ที่ง่าย ใครก็ทำได้ ทำเงินไม่ได้ “
ทางด้านการเเข่งขัน เกษตรกรต้องปรับตัว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง จะอยู่รอดได้ก็ต้องประกอบไปด้วย
- ต้นทุน
- การจัดการที่ดี เพื่อผลิตสินค้าให้มีคุณภาพตอบโจทย์ผู้บริโภคบนต้นทุนที่เเข่งขันกับใครก็ได้
- ทีมงาน คือ คนที่ดี ต้องพัฒนาคนสม่ำเสมอ เช่น ถ้ามีเครื่องจักร ก็ต้องฝึกคนให้สามารถทำงานกับเครื่องจักรได้ หากเขาทำได้ก็ต้องเพิ่มค่าเเรงให้ เราจะเป็นเถ้าเเก่ขี้เหนี่ยวไม่ได้
อาชีพทำสวนทุเรียนรายได้ค่อนข้างสูง เเต่รายได้มีขึ้นมีลง จะประมาทไม่ได้ ต้องใช้ชีวิตอย่างระวัง อย่าทะนงตัว ทุกอย่างไม่เเน่นอน ทุกธุรกิจต้องระวัง
ปัจจัยเรื่อง ต้นทุน เทคโนโลยีที่ดี เราต้องอยู่เเนวหน้าในอาชีพนั้นๆ ต้องมีการการจัดการที่ดี พัฒนาผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่ลูกค้า ตลาด รับได้ เเละในเเง่ชาวสวนต้นทุนต้องถูกที่สุด คือให้เอากำไรเป็นตัวดัง บริหารจัดการต้นทุนถูกที่สุด พร้อมที่จะเเข่งขันกับคุ่เเข่งทั้งโลกได้ทุกเมื่อ เเละที่สำคัญทีมงาน เราต้องพัฒนาคน ต้องไม่เอาเปรียบใคร ลูกค้า พนักงาน เเล้วเรา ทุกคนต้องได้ประโยชน์เท่าเทียมกัน