เตือนแล้วนะ! 3 เครื่องดื่ม ไม่เค็มแต่เป็น “เหมืองเกลือ” โซเดียมสูง ดื่มมากลำบากไต

เตือนเครื่องดื่ม 3 ประเภท ที่ไม่เค็มแต่เป็นโซเดียมสูง ดื่มมากอาจทำให้ไตเสียหาย

เมื่ออากาศร้อนขึ้น ผู้คนจะดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อดับกระหายและคลายร้อน ขณะที่ในชีวิตยุคใหม่ ในชีวิตประจำวันที่มีความสะดวกสบายมากขึ้น ทั้งซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อมีอยู่ทั่วไป ทำให้เราสามารถหาซื้อเครื่องดื่มได้ง่ายๆ จากที่ไหนก็ได้ และเลือกดื่มได้ตามใจชอบ

แต่รู้หรือไม่ว่า เครื่องดื่มที่คุ้นเคยบางชนิด ถึงแม้จะไม่ได้มีรสชาติเค็มเลย แต่จริงๆ แล้วมีเกลือแอบแฝงอยู่ในปริมาณมาก ซึ่งส่งผลเสียและจะค่อยๆ ทำร้ายสุขภาพ ซึ่งหากบริโภคในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอันตรายต่อไตและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ดังเช่น 3 เครื่องดื่มต่อไปนี้ที่ควรระวัง ตามรายงานของเว็บไซต์ doisongphapluat

เครื่องดื่มเกลือแร่

เพื่อทดแทนปริมาณโซเดียมที่สูญเสียไปขณะออกกำลังกาย เครื่องดื่มเกลือแร่จึงมักมีการเสริมโซเดียม โดยในขวดขนาด 600 มล. จะมีโซเดียมประมาณ 246 มก. ดังนั้น ไม่ควรบริโภคมากเกินไป แม้ในกลุ่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีรสหวานก็ตาม

น้ำผักและผลไม้กระป๋อง

วัตถุดิบสำหรับน้ำผลไม้และน้ำผักที่ทำเอง ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณโซเดียมสูง แต่เครื่องดื่มสำเร็จรูปที่ขายตามท้องตลาดมักจะมีการเสริมโซเดียมเพื่อเพิ่มรสชาติ ดังนั้น อย่าลืมตรวจสอบรายการคุณค่าทางโภชนาการก่อนที่จะซื้อมาดื่ม

ช็อคโกแลตร้อน

ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้วช็อกโกแลตร้อน 1 แก้ว (354 มล.) จะมีโซเดียมประมาณ 370 มก. ซึ่งคิดเป็นประมาณ 16% ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวันนี่เป็นสิ่งสำคัญที่ควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือไต

ทั้งนี้ หากเผลอรับประทานเกลือหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีโซเดียมมากเกินไป นอกเหนือจากการดื่มน้ำให้เพียงพอแล้ว ควรเสริมอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เพื่อช่วยเพิ่มการขับโซเดียมออกจากร่างกาย โดยอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงที่นิยม ได้แก่ ผักบุ้ง, มะระ, ผักมันเทศ, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, กล้วย, กีวี, อะโวคาโด, ลูกเกด ฯลฯ