สำนักข่าว Sohu จากประเทศจีน รายงานกรณี นายหลิว ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ที่ถึงแก่กรรมหลังปวดไหล่เพียง 1 สัปดาห์ โดยแพทย์ระบุว่า การเสียชีวิตอย่างกะทันหันของนายหลิวเกี่ยวข้องกับ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ตามรายงานพบว่า ก่อนเสียชีวิตนายหลิวรู้สึกเจ็บที่ไหล่ซ้าย คิดว่าเป็นอาการเกี่ยวกับกระดูกสันหลังส่วนคอ จึงไปร้านนวดใกล้บ้านหลายครั้ งแต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น นึ่งสัปดาห์ต่อมา อาการปวดไหล่เกิดขึ้นรุนแรงอย่างฉับพลัน จนทำให้เขาถึงกับเป็นลมขณะทำงานอยู่ เพื่อนร่วมงานรีบพาส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน แต่ในเวลาต่อมาแพทย์ก็ประกาศว่าเขาเสียชีวิตแล้ว
เหตุใดอาการปวดไหล่จึงเป็นสัญญาณของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย?
สาเหตุเป็นเพราะหัวใจอยู่ที่หน้าอกด้านซ้าย เมื่อหัวใจถูกทำลาย ความเจ็บปวดก็จะลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โดยปกติอาการปวดไหล่จากกล้ามเนื้อหัวใจตายจะปรากฏที่ด้านซ้ายซึ่งสอดคล้องกับตำแหน่งของหัวใจ
สถิติพบว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไปโรงพยาบาลเพราะอาการปวดไหล่ มีเพียง 20% เท่านั้นที่เกิดจากโรคกระดูกและข้อ ในขณะที่อีก 80% อาจเกิดจากโรคอื่นๆ โดยอาการปวดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นที่จุดเดียว อาการปวดจะคงอยู่นานกว่า 15 นาที และจะไม่ดีขึ้นแม้นอนพักผ่อนแล้ว
อาการปวดทั้ง 5 ส่วน ที่เสี่ยงเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ศาสตราจารย์ Huo Yong หัวหน้าภาควิชาหทัยวิทยาท โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (AMI) เป็นภาวะที่แขนงของหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างน้อยหนึ่งแขนง ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างกะทันหัน และเนื้อร้ายของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด พร้อมเตือนหากรู้สึกเจ็บปวดผิดปกติตาม 5 ส่วนนี้ของร่างกาย ควรใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจวายได้
1. ปวดฟัน เมื่อเลือดส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เนื่องจากหลอดเลือดแดงที่หัวใจตีบตัน อาจทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปยังขากรรไกรด้านซ้ายได้ ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจควรระมัดระวังหากอาการปวดฟันกะทันหัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีสุขภาพช่องปากที่ดี เนื่องจากเป็นสัญญาณของอาการหัวใจวาย
2. ปวดหัว เมื่ออาการหัวใจวายเกิดขึ้น ปัจจัยการอักเสบจะทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กทั่วร่างกายหดตัว โดยเฉพาะหลอดเลือดในสมอง ยิ่งในผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตสูงมากเกินไป จนอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะผิดปกติได้
3. ปวดหลัง ผลการศึกษาพบว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในสตรี มักมีอาการปวดกระจาย ปวดหลัง คลื่นไส้ และอาเจียน และโดยทั่วไปจะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกหรือเหงื่อออกมาก
4. ปวดท้องช่วงบน เนื้อตายของกล้ามเนื้อหัวใจจะกระตุ้นเส้นประสาทวากัส ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลง เกิดภาวะโลหิตจางในระบบทางเดินอาหาร อาการต่างๆ ได้แก่ ปวดท้องผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้สับสนกับโรคระบบทางเดินอาหารได้ง่าย
5. เจ็บหน้าอก เมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บหน้าอกบริเวณระหว่างกระดูกอก ความเจ็บปวดจะคงอยู่ไม่กี่นาทีแล้วหายไป ก่อนเกิดขึ้นและหายไปอีกครั้ง ทำให้เรารู้สึกเหมือนมีอะไรกดทับหน้าอก แทง หรือหายใจไม่ออก และอาการปวดอาจเกิดขึ้นที่บริเวณอื่นๆ เช่น หลัง คอ ขากรรไกร หรือบริเวณท้องส่วนล่าง และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก อาเจียน หรือปวดศีรษะเล็กน้อย